top of page

ทฤษฎีเซลล์กระจกเงา (Mirror Neuron Theory)

images-01.jpg

ภาพประกอบที่ 1 แสดงเซลล์กระจกเงา (Mirror Neuron Theory) กับการเรียนรู้

     ทฤษฎีเซลล์กระจกเงา (Mirror Neuron Theory) กับการเรียนรู้ และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เซลล์กระจกเงาถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยพาร์ม่า ประเทศอิตาลี ได้แก่ ดร.ลีโอนาโด โฟกัสซิ (LeonadoFogassi) และ
จิอาโคโม ลิโวลาติ (GiocomoRizzolatti) โดยพบว่าเซลล์กระจกเงาทำหน้าที่สะท้อนภาพสิ่งที่มองเห็น เข้าไปในสมอง จากนั้นจึงดำเนินการกระตุ้นสมองส่วนอื่นๆ ให้เกิกระบวนการต่อเนื่องตามมา สุดท้ายจะทำให้เกิดเป็นพฤติกรรมและมีความรู้สึกเดียวกันกับคนที่เราได้เห็นภาพ (Mirror Neuron Theory) (Rizzolatti & Craighero, 2004; Galleseet.al., 2004) ดังนั้น เซลล์กระจกเงา จึงเป็นเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่เลียนแบบพฤติกรรมที่บุคคลมองเห็น ทั้งนี้เนื่องจาก เซลล์ประสาทจะมี

กระบวนการปฏิกิริยาเชิงสะท้อน (Mirror Reaction) ที่สะท้อนภาพตามตัวแบบ เสมือนหนึ่งว่าเป็นกระจกเงาที่สะท้อนภาพทุกอย่างเข้าไป ภาพที่ถูกสะท้อนเข้าไปจะทำให้เราเกิดพฤติกรรมเช่นเดียวกับตัวแบบ

ภาพประกอบที่ 2 แสดงตำแหน่งของสมองที่ถูกกระตุ้นเมื่อสังเกตเห็นการเคลื่อนไหวของปากของผู้อ.jp

ภาพประกอบที่ 2
แสดงตำแหน่งของสมองที่ถูกกระตุ้นเมื่อสังเกตเห็นการเคลื่อนไหวของปากของผู้อื่น

ภาพประกอบที่ 3 แสดงตำแหน่งของสมองที่ถูกกระตุ้นเมื่อสังเกตเห็นการเคลื่อนไหวของมือและแขนข.jp

ภาพประกอบที่ 3
แสดงตำแหน่งของสมองที่ถูกกระตุ้นเมื่อสังเกตเห็นการเคลื่อนไหวของมือ
และแขนของผู้อื่น

อ้างอิง
Rizzolatti, G., & Craighero, L. (2004). The mirror neuron system. Annual Review of Neuroscience,  
   27, 169-92. Retrieved from http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15217330

bottom of page